top of page

ยินดีต้อนรับ

ี้รีส

ประวัติย่อ

   วัดดอนศิลาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๒ บ้านโคก หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยราช อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางทุ่งนา ห่างจากเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ไปทางทิศตะวันออกตามเส้นทางถนนสายบุรีรัมย์ - ห้วยราช ประมาณ ๕ กิโลเมตร และห่างจากเขตเทศบาลตำบลห้วยราชไปทางทิศตะวันตกเส้นทางสายห้วยราช - บุรีรัมย์ ประมาณ ๒ กิโลเมตร สภาพทั่วไปเป็นที่ดอน ซึ่งมีหินศิลาน้อย - ใหญ่ อยู่เป็นจำนวนมาก มีต้นไม้อยู่ประมาณ ๘ - ๙ ต้น ได้แก่ ต้นมะขาม ต้นหว้า ต้นมะกอกน้ำ มะขามป้อม เป็นต้น พื้นที่บริเวณนี้มีต้นไม้น้อยมากเนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินศิลามีต้นไม้ที่สำคัญที่สุดคือ ต้นมะขาม เพราะเป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาตั้งแต่เริ่มสร้างวัด เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลชุมชน โดย ทิศเหนือมีหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดคือบ้านโคก หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยราช และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร ทิศใต้ มีหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดคือบ้านตะครอง และบ้านพลวง หมู่ที่ ๘ ตำบลสนวน ระยะทางประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ทิศตะวันออก ติดกับที่นายบน สาระรัมย์ เป็นทุ่งนาไม่มีหมู่บ้าน ทิศตะวันตก จรดทางสาธารณะ และมีหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดคือบ้านโคกสะอาด หมู่ที่ ๖ ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ระยะทางประมาณ

๒ กิโลเมตร วัดดอนศิลาราม เริ่มก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๑ โดยพระอาจารย์สมพร พุธทฺสาโร พระกรรมฐาน ได้เดินธุดง์ผ่านบริเวณนี้เห็นเป็นที่เงียบสงบ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ น้ำที่ใช้ต้องหาตามแอ่งเล็กๆ ที่ขังตามทุ่งนา ท่านมิได้ต้องการอะไรมากมายมีเพียงน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงสังขารให้ดำรงอยู่ได้ก็เพียงพอแล้วจึงปักกลดบำเพ็ญภาวนา และออกเดินบิณฑบาตสงเคราะห์ชาวบ้านบริเวณใกล้เคีัยงให้ได้บำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตรตามวิถีชาวพุทธ ชาวบ้านทั้งหลายเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาไม้พร้อมสังกะสีสร้างเพิงที่พักเล็ก ๆ ติดกับต้นมะขามที่ท่านปักกลดอยู่พอเป็นที่หลบแดดหลบฝนได้ด้วยพลังศรัทธาของชาวบ้านในบริเวณนี้ และบริเวรณใกล้เคียงจึงนิมนต์ท่านให้อยู่สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจพร้อม ๆ กับกรพัฒนาอบรมจิตใจชาวบ้านในละแวดใกล้เคียงให้ยึดมั่นแลปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนในพระบวรพุทธศาสนา พระพุทธศาสนานั้นมีคำสอนดี ๆ มากมาย รอเพยงแต่มีผู้นำไปปฏิบัติอย่างจริงจังเท่านั้น กว่าที่จะสร้างเป็นสำนักสงฆ์ได้นั้นก็ด้วยพลังศรัทธาของโยมอุปัฏฐากที่เสียสละกำลังทรัพย์อย่างมาก คือ พ่ออิ่ม - แม่เย็น นิกูลรัมย์ และพ่อปลั่ง - แม่สำรวย สาระรัมย์ ได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ จำนวน ๙ ไร่ ๑ งาน ๙๔.๕๖ ตารางวาสำนักสงฆ์ศรีสมพร ตั้งตามชื่อของผู้ริเริ่มสร้าง คือ พระอาจารย์สมพร พุธทฺสาโร ได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ วันจันทร์ที่ ๑๙ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ปี ชวด ซึ่งตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันวิสาขบูชา ได้พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ สิ่งของต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสำนักสงฆ์ศรีสมพรนั้นก็ด้วยพลังศรัทธาของโยมอุปัฏฐากที่ยึดมั่นตามหลักธรรมในบวรพุทธศาสนา ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ สำนักสงฆ์ศรีสมพร ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ โดยตั้งชื่อว่าวัดดอนศิลาราม และมีเจ้าอาวาสคือ พระใบฎีกาโสภา อคฺคโชโต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ วัดดอนศิลาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๒ บ้านโคก หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยราช อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางทุ่งนา ห่างจากเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ไปทางทิศตะวันออกตามเส้นทางถนนสายบุรีรัมย์ - ห้วยราช ประมาณ ๕ กิโลเมตร และห่างจากเขตเทศบาลตำบลห้วยราชไปทางทิศตะวันตกเส้นทางสายห้วยราช - บุรีรัมย์ ประมาณ ๒ กิโลเมตร สภาพทั่วไปเป็นที่ดอน ซึ่งมีหินศิลาน้อย - ใหญ่ อยู่เป็นจำนวนมาก มีต้นไม้อยู่ประมาณ ๘ - ๙ ต้น ได้แก่ ต้นมะขาม ต้นหว้า ต้นมะกอกน้ำ มะขามป้อม เป็นต้น พื้นที่บริเวณนี้มีต้นไม้น้อยมากเนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินศิลามีต้นไม้ที่สำคัญที่สุดคือ ต้นมะขาม เพราะเป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาตั้งแต่เริ่มสร้างวัด เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลชุมชน โดย ทิศเหนือมีหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดคือบ้านโคก หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยราช และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร ทิศใต้ มีหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดคือบ้านตะครอง และบ้านพลวง หมู่ที่ ๘ ตำบลสนวน ระยะทางประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ทิศตะวันออก ติดกับที่นายบน สาระรัมย์ เป็นทุ่งนาไม่มีหมู่บ้าน ทิศตะวันตก จรดทางสาธารณะ และมีหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดคือบ้านโคกสะอาด หมู่ที่ ๖ ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร

วัดดอนศิลาราม เริ่มก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๑ โดยพระอาจารย์สมพร พุธทฺสาโร พระกรรมฐาน ได้เดินธุดง์ผ่านบริเวณนี้เห็นเป็นที่เงียบสงบ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ น้ำที่ใช้ต้องหาตามแอ่งเล็กๆ ที่ขังตามทุ่งนา ท่านมิได้ต้องการอะไรมากมายมีเพียงน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงสังขารให้ดำรงอยู่ได้ก็เพียงพอแล้วจึงปักกลดบำเพ็ญภาวนา และออกเดินบิณฑบาตสงเคราะห์ชาวบ้านบริเวณใกล้เคีัยงให้ได้บำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตรตามวิถีชาวพุทธ ชาวบ้านทั้งหลายเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาไม้พร้อมสังกะสีสร้างเพิงที่พักเล็ก ๆ ติดกับต้นมะขามที่ท่านปักกลดอยู่พอเป็นที่หลบแดดหลบฝนได้

ด้วยพลังศรัทธาของชาวบ้านในบริเวณนี้ และบริเวรณใกล้เคียงจึงนิมนต์ท่านให้อยู่สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจพร้อม ๆ กับกรพัฒนาอบรมจิตใจชาวบ้านในละแวดใกล้เคียงให้ยึดมั่นแลปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนในพระบวรพุทธศาสนา พระพุทธศาสนานั้นมีคำสอนดี ๆ มากมาย รอเพยงแต่มีผู้นำไปปฏิบัติอย่างจริงจังเท่านั้น กว่าที่จะสร้างเป็นสำนักสงฆ์ได้นั้นก็ด้วยพลังศรัทธาของโยมอุปัฏฐากที่เสียสละกำลังทรัพย์อย่างมาก คือ พ่ออิ่ม - แม่เย็น นิกูลรัมย์ และพ่อปลั่ง - แม่สำรวย สาระรัมย์ ได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ จำนวน ๙ ไร่ ๑ งาน ๙๔.๕๖ ตารางวา

สำนักสงฆ์ศรีสมพร ตั้งตามชื่อของผู้ริเริ่มสร้าง คือ พระอาจารย์สมพร พุธทฺสาโร ได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ วันจันทร์ที่ ๑๙ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ปี ชวด ซึ่งตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันวิสาขบูชา ได้พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ สิ่งของต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสำนักสงฆ์ศรีสมพรนั้นก็ด้วยพลังศรัทธาของโยมอุปัฏฐากที่ยึดมั่นตามหลักธรรมในบวรพุทธศาสนา ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์

สำนักสงฆ์ศรีสมพร ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ โดยตั้งชื่อว่าวัดดอนศิลาราม และมีเจ้าอาวาสคือ พระใบฎีกาโสภา อคฺคโชโต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔

รูปภาพ

GettyImages-957348892.jpg

Temple Hours

Daily

Weekends

Lunch Service

9:00 AM - 4:00 PM

7:00 AM - 6:00 PM

11:00 AM - 3:00 PM

GettyImages-672751682.jpg

Temple Life

I'm an image title.
I'm an image title.
I'm an image title.
I'm an image title.
I'm an image title.

©2035 by Buddhist Temple. Powered and secured by Wix

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
bottom of page